หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่แห่งความภาคภูมิใจของผู้รักศิลปะ เราผ่านการรณรงค์ร่วมแรงร่วมใจของเครือข่ายศิลปินและคนรักศิลปะมากว่า 16 ปี จนได้เปิดบริการสู่สาธารณะ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 อาคารอันงดงาม ณ สี่แยกปทุมวัน เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สร้างแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้ความดูแลของมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดตั้งและสนับสนุนหลักจากกรุงเทพมหานคร

พันธกิจ

  1. ขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก
  2. สนับสนุนกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดภูมิปัญญาใหม่
  3. สร้างจินตนาการและแรงบันดาลใจทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนเพื่อพัฒนาสังคมไปสู่ดุลยภาพ
  4. พัฒนาการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ
  5. สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม

คณะกรรมการและผู้บริหาร

ประธานกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เมืองที่เจริญต้องมีหอศิลป์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(หอศิลปกรุงเทพฯ) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองมีความเจริญทางด้านจิตใจและโลกทัศน์มากขึ้น บทบาทนี้ล้วนมาจากการสนับสนุนจากประชาชน องค์กรภาครัฐ และเอกชน ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งต่อเรื่องราวของศิลปะสู่สาธารณะ ศิลปะได้ทำหน้าที่พัฒนา “คน” พัฒนา “สังคม” และช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อร่วมกันเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ตลอดไป

คณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
2564 – ปัจจุบัน

นางกอบกาญจน์  วัฒนวรางกูร
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ
นายฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที
รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ
นางเยาวณี นิรันดร
รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 
กรรมการมูลนิธิฯ
นางมาริษา เจียรวนนท์ 
กรรมการมูลนิธิฯ 
นายเสริมคุณ  คุณาวงศ์ 
กรรมการมูลนิธิฯ
นางวรรณพร  พรประภา 
กรรมการมูลนิธิฯ
นางชมัยภร บางคมบาง 
กรรมการมูลนิธิฯ
นายญาณวิทย์ กุญแจทอง 
กรรมการมูลนิธิฯ
นายสรรเสริญ  มิลินทสูต 
กรรมการมูลนิธิฯ
นายสมิตร โอบายะวาทย์ 
กรรมการและเหรัญญิก
นายอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
กรรมการและเลขานุการ

ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา หอศิลปกรุงเทพฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ศิลปะสาธารณะที่สำคัญของเมือง มุ่งมั่นในการจัดโครงการและกิจกรรมสาธารณะที่สร้างองค์ความรู้อันหลากหลายที่มีประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงการสร้างบทสนทนาเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องของประวัติศาสตร์และศิลปะร่วมสมัย กระตุ้นความคิดแบบข้ามวิชาการ และการฝึกอบรมในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลกศิลปะ เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นระบบนิเวศศิลป์ของไทยให้ครบถ้วนและเข้มแข็ง  พวกเราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับทีมาของหอศิลปกรุงเทพฯที่ได้สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อนๆ และให้คำมั่นว่าจะสานต่อเจตนารมย์ดังกล่าวนี้ต่อไป เพื่อให้กรุงเทพฯเป็นเมืองสร้างสรรค์อย่างเต็มตัว

คณะกรรมการที่ปรึกษาหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
2565 – ปัจจุบัน

นายชัชชาติ  สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร: ประธานกรรมการ
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร: รองประธานกรรมการ
ปลัดกรุงเทพมหานคร: รองประธานกรรมการ
รองปลัดกรุงเทพมหานคร: รองประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว: กรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักคลัง: กรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร: กรรมการ 
ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร: กรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว: กรรมการ
ผู้อำนวยการส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว: กรรมการและเลขานุการ 
หัวหน้ากลุ่มงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม: กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ประวัติความเป็นมา


ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชนในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐ ยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากล และเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยกระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้า ทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็นการลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็น สาธารณูปโภคทางสมอง หรือ software ทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้าง hardware

การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวัน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ทางศิลปวัฒนธรรมได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และพักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน

โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการคิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม โครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบเดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้าง องค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมคัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหาร กรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการ รวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า การดำเนินการทาง กฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับ โครงการฯ และการจัด “ART VOTE” โหวตเพื่อหอศิลป์

กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และ ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตามโครงการเดิม

การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หอศิลปฯ เพื่อมวลชน

นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทางผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่างเข้มข้น จนในที่สุดอาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่อง มาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและ เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การรับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทาง ปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วม กิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ ต่อไป

ภาพเขียนในการรณรงค์ “ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า” บริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งอาคารหอศิลปฯ ในปัจจุบัน

ตุลาคม 2537

แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัย ในระหว่างการจัดงานครบรอบ 20 ปี มีการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เพื่อการสานต่อแนวคิด และสร้างสำนึกการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่า

กันยายน 2538

เริ่มโครงการศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 โดยบรรจุความคิดในการก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัยไว้ในโครงการด้วย

11 กรกฎาคม 2539

คณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ได้ประชุมร่วมกับ ดร.พิจิตต รัตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น และได้เสนอแนวคิดเรื่องการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง ‘หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร’ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นองค์อุปถัมภ์ศิลปะทุกสาขา

พฤศจิกายน 2539

จัดตั้ง ‘มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9’ เพื่อสนับสนุนการเตรียมโครงการหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง และกำหนดจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ขึ้น

29 ธันวาคม 2539

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดแสดงระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2539 – 8 มกราคม 2540 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานภาพฝีพระหัตถ์ 31 ชิ้น และมีศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมแสดงมากกว่า 1,100 ชิ้น เมื่อสิ้นสุดนิทรรศการ ศิลปินได้บริจาคผลงานจำนวน 108 ชิ้น ให้เป็นสมบัติของหอศิลป์ต่อไป

2 มีนาคม 2540​​​​​​​

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดการแสดง JAZZ IN THE PARK คอนเสิร์ตเพื่อโครงการหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ณ สวนสราญรมย์ คณะกรรมการฯ นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจำนวน 4,145,817.50 บาท ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงพระราชทานเงินจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินทุนในการจัดตั้ง ‘มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดการแสดง JAZZ IN THE PARK คอนเสิร์ตเพื่อโครงการหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ณ สวนสราญรมย์ คณะกรรมการฯ นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจำนวน 4,145,817.50 บาท ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงพระราชทานเงินจำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินทุนในการจัดตั้ง ‘มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’

ธันวาคม 2540

จัดตั้ง ‘มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’ โดยมีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นเลขาธิการมูลนิธิฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการก่อสร้าง

กรกฎาคม – พฤศจิกายน 2541​​​​​​​

กรุงเทพมหานคร โดย นายพิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อกำหนดของการประกวดแนวความคิดในการออกแบบและประกวดแบบอาคารเพื่อก่อสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวดแบบฯ และดำเนินการประกวดแบบตามลำดับ

30 พฤศจิกายน 2541​​​​​​​

ผู้ชนะการประกวดแบบอาคาร คือ บริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และได้รับมอบหมายให้พัฒนาแบบต่อไป เพื่อใช้ในการประกวดราคาก่อสร้าง

7 พฤษภาคม 2543​​​​​​​

กรุงเทพมหานคร โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ทำพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติ แห่งกรุงเทพมหานคร ณ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ในงานมีนิทรรศการแบบที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลตามลำดับ

28 กรกฎาคม 2543​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​

นายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

สิงหาคม 2543​​​​​​​

นายสมัคร สุนทรเวช ได้เปลี่ยนนโยบายโครงการสร้างหอศิลป์ฯ จากเดิมที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้สร้างโดยกระบวนการร่วมคิดร่วมตัดสินใจและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เป็นกำหนดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรูปแบบอาคารพาณิชย์ ประกอบด้วยศูนย์การค้า ลานจอดรถ และหอศิลป์ ซึ่งกลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการ โดยให้เอกชนลงทุนสัมปทานเช่าพื้นที่ในส่วนพาณิชย์ของอาคาร นานถึง 30 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างอันเป็นสาระสำคัญของกรอบความคิดและปรัชญาเดิมโดยสิ้นเชิง

31 สิงหาคม 2543​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นมี ผ.ศ.ปรีชา เถาทอง เป็นประธาน ยื่นจดหมายทักท้วงการระงับโครงการหอศิลป์ฯ และขอเข้าพบผู้ว่าฯ เพื่อรับฟังคำชี้แจงถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงโครงการฯ

26 กันยายน 2543​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย จัดประชุมอย่างเป็นทางการ ที่อาคารรัฐสภา เพื่อเป็นการแสดงพลัง และความคิดเห็น คัดค้านการยกเลิกโครงการหอศิลป์เดิม

27 กุมภาพันธ์ 2544​​​​​​​

กลุ่มศิลปิน นำโดย นายวสันต์ สิทธิเขตต์ นายประเทือง เอมเจริญ และตัวแทนอาจารย์ นิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบัน รวมกว่า 50 คนร่วมชุมนุม ภายใต้ชื่อ “กิจกรรมวันทวงหอศิลป์ กรุงเทพมหานคร” ที่หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เรียกร้องให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเร่งดำเนินการก่อสร้างหอศิลป์บริเวณสี่แยกปทุมวัน ตามแบบเดิม

3 มีนาคม 2544​​​​​​​

จัดชุมนุมศิลปินครั้งแรก ที่บริเวณวางศิลาฤกษ์อาคารหอศิลป์ สี่แยกปทุมวัน และได้ประกาศจัดตั้งเครือข่ายศิลปินรณรงค์เพื่อหอศิลป์ร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติ แห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องหอศิลป์แบบเดิม เช่น ยื่นจดหมายถึงผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ขอให้มีการทำประชาพิจารณ์การก่อสร้างหอศิลปะกรุงเทพฯ

15 มีนาคม 2544​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ร่วมกับศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินอิสระ คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาทางศิลปะ ผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงศิลปะ นักร้อง นักแสดง นักศึกษาทางศิลปะ ประชาชนที่สนใจ จัดอภิปรายกรณีล้มเลิกหอศิลป์ร่วมสมัย ณ ลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

20 มีนาคม 2544​​​​​​​

สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ร่วมกับศิลปสมาคมระหว่างชาติแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้บริหารสถาบันทางศิลปะที่เกี่ยวข้อง ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินอิสระ สื่อมวลชน และนักศึกษาศิลปะ ฯลฯ ออกแถลงการณ์ร่วมขอให้กรุงเทพมหานครทบทวนโครงการ และชี้แจงเหตุผลในการยกเลิกการก่อสร้างหอศิลป์ตามแบบเดิม ณ ห้องประชุมคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

1 มิถุนายน 2544​​​​​​​

ประธานสภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย อาจารย์ปรีชา เถาทอง ส่งหนังสือร้องเรียนและขอความเป็นธรรม กรณีระงับการก่อสร้างหอศิลป์ไปยัง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีว่าการทบวงวิทยาลัย, ประธานรัฐสภา, ประธานสภากรุงเทพมหานคร, ประธานกรรมาธิการด้านศิลปวัฒนธรรม และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

9 มิถุนายน 2544​​​​​​​

มีการจัดนิทรรศการศิลปะเพื่อร่วมสมทบทุนเครือข่ายศิลปินฯ ที่โรงแรมฟอร์จูน มีผลงานร่วมแสดงกว่า 100 ชิ้น และเข้าร่วมประมูล 15 ชิ้น มีรายได้ (หลังหักค่าใช้จ่าย) รวมเป็นเงินกว่า 600,000 บาท

28 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2544

จัดมหกรรมศิลปะเพื่อประชาชน ‘ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า’ ณ บริเวณวางศิลาฤกษ์อาคารหอศิลป์ สี่แยกปทุมวัน และประกาศเริ่มโครงการภาพเขียนยาวที่สุดในโลก

18 สิงหาคม – 16 ตุลาคม 2544

มีการรณรงค์ ‘ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า’ ในชุมชนและสถาบันต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

20 กันยายน 2544​​​​​​​

อาจารย์ปรีชา เถาทอง และหงา คาราวาน พร้อมเครือข่ายศิลปินฯ ยื่นหนังสือต่อเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ทำประชาพิจารณ์หอศิลป์

30 ตุลาคม 2544​​​​​​​

คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา มีมติเสนอให้กรุงเทพมหานคร จัดทำประชาพิจารณ์

3 พฤศจิกายน 2544​​​​​​​

มีการเดินขบวนศิลปะที่ยาวที่สุดในโลก โดยสมาชิกเครือข่ายศิลปินฯ และอาสาสมัคร ประมาณ 100 คน เริ่มต้นที่สี่แยกปทุมวัน และได้จัดขบวนแถวยาวต่อเนื่องเรียงหนึ่ง ช่วยกันถือภาพเขียนที่เย็บต่อเนื่องกันเป็นชุดๆ ละ 5 ภาพ จนได้แถวยาวประมาณ 4 กิโลเมตรภาพที่เหลือบรรทุกรถปิคอัพ 3 คัน ลำเลียงกันไปจากสี่แยกปทุมวันไปศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า แล้วนำภาพทั้งหมดจำนวน 4,000ภาพ ออกปูเต็มพื้นที่หน้าที่ทำการกรุงเทพมหานคร แสดงภาพอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง และนำแถลงการณ์ปิดไว้ที่ประตูทางเข้า กทม.

3-11 เมษายน 2545​​​​​​​

มีการจัดแสดงผลงานศิลปะชุด ‘ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า’ ณ หอศิลป์ ตาดู ซึ่งทางคณะกรรมการเครือข่ายฯ ได้คัดเลือกผลงานชิ้นเยี่ยม 150 ชิ้น จาก 4,000 ชิ้น ออกแสดงเพื่อจำหน่ายหารายได้สมทบทุนการรณรงค์เพื่อหอศิลป์ นอกจากนี้ได้จัดกิจกรรมประมูลผลงานชั้นเยี่ยมยอดอีก 15 ชิ้น

9 เมษายน 2545​​​​​​​

ศาลปกครองกลางได้ประทับรับฟ้อง คดีดำหมายเลขที่ 636/45 ภายหลังที่ อาจารย์ปรีชา เถาทอง นายจอน อึ้งภากรณ์ นายสุรชัย จันทิมาธร นายจุมพล อภิสุข นายวรินทร์ เทียมจรัส กับพวก รวม 9 คน ยื่นคำฟ้อง ให้มีคำสั่งให้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณตามกฎหมายรัฐธรรมนูญตามมาตรา 59 ทำให้โครงการที่จะผลักดันหอศิลป์ในศูนย์การค้าต้องหยุดลง

พฤษภาคม – มิถุนายน 2547

ในช่วงการรณรงค์เพื่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ เครือข่ายศิลปินฯ ได้จัดประชุมเพื่อขยายความร่วมมือกับชุมชน และองค์กรทางด้านวัฒนธรรม รวมถึงภาคประชาชน จัดตั้งเป็น ‘เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’ (People’s Network for Bangkok Art & Culture Centre)

8 สิงหาคม 2547​​​​​​​

มีการแถลงข่าวครั้งแรก ณ บ้านจิม ทอมป์สัน เพื่อเดินหน้าจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนและผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการมีหอศิลป์

22-28 สิงหาคม 2547​​​​​​​

เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม ‘Art Vote’ โหวตเพื่อหอศิลป์ บริเวณสวนสาธารณะ สี่แยกปทุมวัน จัดคูหาลงประชามติเพื่อลงคะแนนว่า ชาวกรุงเทพฯ ต้องการหาศิลป์หรือไม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมรายชื่อให้ครบ50,000 รายชื่อ และนำเสนอต่อผู้ว่าราชการคนใหม่ต่อไป รวมทั้งมีการจัดแสดงกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ นอกจากนี้ให้อาสาสมัครลงพื้นที่ และจัดคูหาลงคะแนนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนลงคะแนนสนับสนุนการจัดสร้างหอศิลป์เครือข่ายฯ ได้เดินทางเข้าพบผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ เพื่อชี้แจงถึงประโยชน์ของการมีหอศิลป์ และผลักดันให้หอศิลป์เป็นหนึ่งในนโยบายของกรุงเทพมหานคร

28 สิงหาคม 2547​​​​​​​

มีการนับจำนวนรายชื่อผู้สนับสนุนการจัดสร้างหอศิลป์ หนึ่งในเสียงโหวตนั้นคือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา

6 กันยายน 2547​​​​​​​

หลังจากที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้นำเรื่องโครงการหอศิลป์เข้าหารือ ซึ่งก็ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง ‘หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’

24 มกราคม 2548​​​​​​​

กรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าฯ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มีคำสั่งที่ 231/2548 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครขึ้น โดยมีผู้ว่าฯ เป็นประธาน พร้อมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอีก 3 ชุด เพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินการก่อสร้าง แนวทางการบริหารจัดการ และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการหอศิลปฯ คือ1. คณะกรรมการอำนวยการก่อสร้าง โดยมี ศ.เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินงานการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร2. คณะอนุกรรมการวางนโยบายการบริหารจัดการ โดยมี นายฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินงานนโยบายการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร3. คณะกรรมการรณรงค์เครือข่ายและการมีส่วนร่วม โดยมี ศ.ปรีชา เถาทอง เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดวางแผนการดำเนินกิจกรรมในการรณรงค์ สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้มีมติให้ก่อสร้างหอศิลปฯ ตามโครงการเดิม คือ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน ใช้แบบก่อสร้างที่ชนะการประกวด โดยบริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด และให้โครงการหอศิลปฯ ดังกล่าวแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2549 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา รวมทั้งให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต และนันทนาการของประชาชนตามยุทธศาสตร์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อไปสภากรุงเทพมหานครอนุมัติงบประมาณ 504 ล้านบาท เพื่อการดำเนินการก่อสร้างอาคาร ‘หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’

15 กรกฎาคม 2548​​​​​​​

จัดการประชุมร่วมพิจารณา ‘ร่างปฏิญญาศิลปวัฒนธรรม’ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกที่จะเป็นแนวทางให้ทั้งภาครัฐ (กรุงเทพมหานคร) และภาคประชาชน (ตัวแทนองค์กรศิลปะจากทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สถาบัน ศิลปิน และเยาวชน นักศึกษา และสื่อมวลชน) แสวงหาความร่วมมือกันที่จะพัฒนางานศิลปวัฒนธรรม

19 สิงหาคม 2548​​​​​​​

มีการลงนามใน ‘ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องข้อตกลงความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานครและพันธมิตรด้านศิลปวัฒนธรรม’ ณ อุทยานเบญจศิริจากนั้นได้มีการจัดตั้ง ‘มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร’ ให้เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการอาคารหอศิลปฯ

20 กันยายน 2548​​​​​​​

ลงนามสัญญาก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาก่อสร้าง 570 วัน โดยบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

22 ธันวาคม 2549​​​​​​​

งานแถลงข่าวความคืบหน้าการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บนลาน BTS สนามกีฬาแห่งชาติ

19 – 22 เมษายน 2550​​​​​​​

กรุงเทพมหานครจัดการแสดงนิทรรศการจิตรกรรม ‘เติมศิลปะให้ชีวิต…สร้างศิลปินให้กรุงเทพฯ’

17 กรกฎาคม 2550​​​​​​​

จดทะเบียนตั้งมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานมูลนิธิ

30 พฤศจิกายน 2550​​​​​​​

กรุงเทพมหานครจัด Soft Launch เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ บริเวณลานด้านหน้าอาคารหอศิลปฯ

เมษายน – พฤษภาคม 2551​​​​​​​

กรุงเทพมหานครจัดงานแคมป์ศิลปะ ‘เราจะโตไปด้วยกัน’ สนับสนุนโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ ลานกิจกรรมศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ด เขต ปทุมวัน

พฤษภาคม 2551​​​​​​​

การก่อสร้างอาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครแล้วเสร็จสมบูรณ์ หลังจากได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี

29 กรกฎาคม 2551​​​​​​​

เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ปฏิญญากรุงเทพมหานครว่าด้วยความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม

นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีการจัดทำ และลงนามความตกลงในปฏิญญาทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการ รณรงค์ให้ได้มาซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร โดยนายอภิรักษ์ โกษะ โยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครใน ขณะนี้ ได้รับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ ฝ่ายรณรงค์และเครือข่ายการมีส่วนร่วม เนื่องจากเห็นว่าร่างปฏิญญาศิลปวัฒนธรรม เป็นก้าวแรกที่จะเป็นแนวทางให้ทั้งสอง ฝ่าย คือ กรุงเทพมหานคร (ภาครัฐ) และ องค์กรศิลปะ (เอกชน) แสวงหาความร่วม มือกันที่จะพัฒนางานศิลปวัฒนธรรมให้ดียิ่ง ขึ้น และต้องเร่งให้การสนับสนุนทางทั้งใน ส่วนการสร้างสรรค์ และงานวิจัยวิชาการ

หลังจากที่ได้วางแนวทางการยกร่างฯ โดย การรวบรวมผลงานวิจัยทางด้านศิลป วัฒนธรรม ตลอดจนพันธกิจ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ของหอศิลปฯ รวมทั้งพิจารณา กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการลง นาม ใน ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องข้อตกลง ความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานคร และพันธมิตรด้านศิลปวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2548 ณ อุทยานเบญจศิริ

ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องข้อตกลงความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานครและพันธมิตรด้านศิลปวัฒนธรรม

  1. ศิลปะสามารถเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน เราจะร่วมกันสนับสนุนและ ปกป้องพลังสร้างสรรค์ของศิลปินให้เป็นที่ประจักษ์ อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การ สหประชาชาติภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
  2. จะร่วมกันส่งเสริมให้ศิลปินและองค์กรทางศิลปะมีบทบาทนำในการให้การศึกษา พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะแก่เยาวชนทุกระดับ ทั้งในระบบและ นอกระบบการศึกษาอย่างมีดุลยภาพระหว่างศิลปะ วิทยาการ และจริยธรรมเพื่อ เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน
  3. จะร่วมกันส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ งานศิลปะ ทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ใน ระดับเมือง ระดับภูมิภาคและระดับสากล
  4. จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของศิลปินและองค์กรศิลปะในการดำเนินนโยบายด้าน ศิลปวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครอย่างเป็นระบบ และจะร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง
  5. จะร่วมกันส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรศิลปะในทุกสาขาทุกระดับ และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม โดยคำนึง ถึงศักดิ์ศรี คุณธรรม ความโปร่งใส ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ ยั่งยืน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
  6. จะร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนให้สื่อมวลชนทุกสาขานำเสนองานด้านศิลปวัฒนธรรม ของเมือง เพื่อถ่ายทอดความคิด อารมณ์ และความเป็นไปของสังคมไปสู่การเรียนรู้ ของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง
  7. จะร่วมกันส่งเสริมโอกาสและบทบาทในการแสดงออกทางศิลปะอย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ ขาดโอกาสและมักถูกละเลย
  8. จะร่วมกันผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสร้างหลักประกันทางด้าน สวัสดิการ เพื่อสร้างความมั่นคงให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านศิลปวัฒนธรรม และจะ ร่วมกันดูแลปกป้องลิขสิทธิ์และสิทธิประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมมิ ให้ถูกละเมิด
  9. จะร่วมกันเสนอแนะ ผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพ ตระหนัก ถึงความสำคัญในการสนับสนุนงบประมาณ ทั้งการจัดตั้งกองทุนเพื่อการสร้างสรรค์, ศึกษา, วิจัย และพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรมของเมืองให้กว้างขวางและก้าวไกล ต่อไป 

แนวความคิดในการออกแบบ

1 >

อาคารที่มีความยืดหยุ่นสูงในการใช้สอยและเอื้อต่อการปรับเปลี่ยน เพื่อให้การจัดแสดงงานศิลปะ เป็นไปอย่างอิสระ ภายในพื้นที่หลากหลายซึ่งมี แสง ขนาด และลักษณะแตกต่างกัน

2 >

อาคารที่มีคุณลักษณะเหมาะสมและอิงรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย เป็นตัวแทนอันสำคัญของวัฒนธรรมไทย มีความน่าตื่นเต้น เชื้อเชิญ ตอบสนองต่อประโยชน์ใช้สอย และต้องสะท้อนความเคลื่อนไหวของศิลปะไทยร่วมสมัย

3 >

อาคารออกแบบให้มีพื้นที่ (Space) ภายในสูง เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงงานศิลปะ นอกจากนี้พื้นที่ใจกลางอาคารแสดงถึงเอกลักษณ์ของอาคาร ซึ่งเป็นตัวกำหนดภาพรวมของงานตกแต่งภายในทั้งหมด

4 >

ภายในอาคารโดยเฉพาะห้องแสดงนิทรรศการ จะใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติให้มากที่สุด แต่ทั้งนี้ แสงนั้นต้องได้รับการควบคุม โดยชั้นบนของอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องแสดงงานศิลปะได้รับการออกแบบให้ตอบสนองและพัฒนาแนวความคิดนี้ให้เป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ มีการรวมส่วนร้านค้าเข้าเป็นส่วนบริการเสริมของหอศิลปฯ และการเลือกร้านค้าอย่างเหมาะสมให้เกี่ยวโยงกับศิลปะก็จะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างส่วนพาณิชย์และส่วนศิลปะ

รูปทรงของอาคาร

ถึงแม้ว่าตัวอาคารจะประกอบด้วยพื้นที่ใช้ สอยที่แยกจากกัน รวมทั้งพื้นที่ร้านค้า แต่ก็มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสถาปัตยกรรม พื้นที่ภายในพัฒนาจากจุดศูนย์กลางคือ พื้นที่เปิดโล่งทรงกระบอก ซึ่งนำเสนอจุดเด่นแก่สายตาเมื่อเข้าสู่อาคาร พื้นที่เปิดโล่งส่วนกลางนี้ยังนำสายตาสู่ชั้นบนของอาคาร รูปทรงซึ่งมีจุดศูนย์กลางเช่นนี้ทำให้เห็นกิจกรรมในพื้นที่ใช้สอยอันหลากหลาย เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารเพื่อสาธารณะชนความตื่นเต้นเร้าใจจากการแสดงให้เห็นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นตัวปลุกให้เกิดการตอบสนองจากชุมชน พื้นที่ส่วนกลางนี้ยังทำให้เกิดความชัดเจนของการเข้าถึงและความยืดหยุ่นของอาคาร อาคารนี้ออกแบบให้เป็นพื้นที่ต่อเนื่องในอนาคตด้วย หากมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนส่วนร้านค้าบางส่วนให้เป็นพื้นที่ใช้งานทางศิลปะก็สามารถทำได้ไม่ยาก

ภาพลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม

อาคารมีความทันสมัยแต่ขณะเดียวกันก็อิง รูปทรงที่แสดงประวัติหรือเอกลักษณ์ไทย การออกแบบทางสถาปัตยกรรมครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นลักษณะรูปร่างและรูปทรง ความเป็นไทยหลายประการ ได้แก่

  • การนำการสอบเข้าของผนังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทย มาประกอบการออกแบบรูปทรงของอาคารภายนอก
  • ช่วงหน้าต่างแคบๆ ซึ่งเป็นรูปทรงแบบไทยๆ ได้นำมาดัดแปลงให้เกิดเป็นองค์ประกอบสมัยใหม่ในลวดลายและรูปทรง ทั้งยังเป็นส่วนควบคุมแสงธรรมชาติไม่ให้เข้าสู่อาคารมากเกินไปทางด้านทิศตะวันตก
  • การนำรูปแบบส่วนโค้งของหลังคาทรงไทยและรูปทรงอื่นๆ ของไทย เช่น ท่วงทีท่ารำ มาเป็นส่วนประกอบของหลังคาและแผงกันแดดเหนือหลังคากระจกห้องแสดงนิทรรศการ 

แนวความคิดการออกแบบภายใน

พื้นที่ศูนย์กลาง

โถงกลางชั้น 1 ได้รับการออกแบบให้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเสนอภาพลักษณ์ของอาคาร และเป็นเสมือนตัวเชื่อมโยงภาพรวมของกิจกรรมทั้งหลาย มีบทบาท กระตุ้นระหว่างงานศิลปะและประชาชนที่สนใจ นับเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมหลายหลากให้ปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ทำให้สามารถเห็นกิจกรรมต่างๆ ในอาคารนี้ และนำไปสู่งานศิลปะภายในห้องจัดแสดง พื้นที่โถงกลางเป็นทรงกลมในผังพื้นและถูกครอบด้วยช่องแสง (Skylight) เส้นทางสัญจรในส่วนหอศิลปฯโดยพื้นลาด (Ramp) ได้ยึดเอารูปโค้งเวียนรอบพื้นที่โถงกลางนี้ ทำให้สามารถเห็นกิจกรรมต่างๆ ในอาคารนี้

ห้องจัดนิทรรศการ

เน้นความยืดหยุ่น ความหลากหลาย และความน่าสนใจของห้องแสดงงานศิลปะ ห้องแสดงงานศิลปะจึงเป็นส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดความหลากหลายด้านพื้นที่ (Space) ลักษณะ (Characteristic) ในการแสดงผลงานด้านศิลปะ

สถาปนิก : บริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์

ร่วมงานกับเรา